วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สาระมาตรฐานการเรียนรู้

สาระมาตรฐานการเรียนรู้

 
 
 
 
 

 

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 20 ก.พ. 2556

วันที่ 20 ก.พ. 2556

 

แนวข้อสอบ

การกำหนดหัวเรื่อง เช่น เรื่องไข่ และการบรูรณาการสอนจากคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ภาษากับคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แต่ ณ ตอนนี้สิ่งที่อยู่รอบตัวเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมด






ทำไมเราไม่เอาเนื้อหาไปสอนให้กับเด็ก ?
ตอบ  เพราะการเอาเนื้อหาไปให้กับเด็ก ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นจะต้องลงมือกระทำโดยให้เด็กใชประสาทสัมผัสที่ง 5 ในการเรียนรู้

นำเสนอการสอน

หน่วยไข่


วันจันทร์

          รวมกลุ่ม นับจำนวนทางคณิต

วันอังคาร

          วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล ทำตาราง แสดงเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง

วันพุธ

          ใช้สื่อ ประโยชน์ โทษ แล้วบันทึก โดยใช้เครื่องมือตารางเปรียบเทียบประโยชน์และโทษ ประโยชน์กับข้อควรระวัง

วันพฤหัสบดี

          ประโยชน์ในการประกอบอาหาร หรือ อาชีพ

วันศุกร์

          การประกอบอาหาร
1. การนำไข่ไปต้ม
2. การนำไข่ไปทอด

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 23 ก.พ. 2556

วันที่  23  ก.พ.  2556

 

นำเสนอการสอนของเพื่อน ๆๆ

วันจันทร์

1.  เพิ่มเติมการทำแม็ฟและสร้างวินัยในการสอน อาจจะให้เด็กยกมือตอบ 
2.  ก่อนจะสอนควรมีอะไรมาปิดสื่อของเราไว้ก่อน เพื่อให้เด็กได้คาดเดาว่าสิ่งที่ครูนำมามีสัตร์อะไรบ้าง
3.  ก่อนจะเปิดครูอาจพูดว่า ถ้าเด็ก ๆ คนไหนตอบถูกต้องก็ให้ปรบมือให้กับตัวเอง และเพื่อนก็ปรบมือด้วย
4. เด็กนับจำนวนสัตว์ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นครูให้เด็กแยกประเภทสัตว์มีปีกกับไม่มีปีก โดยให้เด็กไปหยิบและให้เด็กบอกว่านี่คือสัตว์อะไร
5.จากนั้นครูจะถามเด็กว่าสัตว์มีปีกกับสัตว์ไม่มีปีกมีจำนวนเท่ากันหรือไม่
6. ครูใช้การเปรียบเทียบ โดยครูหยิบออกมาอย่างละหนึ่งตัวทั้งสองชนิด เพื่อให้เด็กได้ดูและเห็นได้ชัดเจน และบอกเด็กว่าสัตว์ที่หมดก่อนคือสัตวืปีก และสัตว์ที่เหลือคือสัตว์ไม่มีปีก

วันอังคาร


          เด็ก ๆ คิดว่าสัตว์ที่คุณครูเอามาเป็นสัตว์ชนิดไหนบ้าง แล้วเด็กจะยกมือตอบ เมื่อครูเฉลยว่าหมี เด็กคนไหนตอบว่าหมีให้ปรบมือให้กับตัวเอง จากนั้นครูเลือกสัตว์มาสองชนิด เพื่อมาเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง

- สัตว์สองชนิดนี้มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง
- หมีมีอะไรบ้างที่ไม่เหมือนไก่
- ไก่มีอะไรบ้างที่ไม่เหมือนหมี


วันศุกร์


          ครูถามเด็กว่าสัตว์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง   การพูดถึงประโยชน์ควรเป็นนิทาน

สรุปกิจกรรมในวันนี้

1. คำพูดในการสอน
2.ได้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ ผังแผนภูมิตาราง มายแม็ฟ
3.เพิ่มเติมภาพสัญลักษณ์
4.การวาดภาพ การเขียนลายมือที่สวย








วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมในวันที่ 16 ม.ค. 2556

กิจกรรมวันครู

 
นักศึกษาเข้าพิธีทางศาสนา ไหว้พระสวดมนต์ในวันครู ณ ห้องประชุมคณะศึกษาศาสตร์


ไหว้ครู



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก news.kku.ac.th

เดือนมกราคมวนเวียนมาถึงอีกครั้ง บรรดานักเรียนทั้งหลายคงจำกันได้ดีว่า วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็นวันครู ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ลูกศิษย์ทั้งหลายระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ที่ได้สอนสั่งอบรมวิชาให้เรา วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปทำความรู้จักถึงความหมายของครู และประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันครูกันค่

ความหมายของครู

ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

ความสำคัญของครู

ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆ คน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง


วันครู

ประวัติความเป็นมา

วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

ด้วยเหตุนี้ คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู

เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู ตลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

กิจกรรมวันครู

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา

2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงาน วันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ

คำปฏิญาณตนของครู

ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม

"ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม"

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู 1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
รายชื่อประเทศที่มี วันครู

ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด

- อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
- มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
- ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน

ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด

- แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
- จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
- สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
- ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
- โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
- รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
- สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
- สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
- ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
- ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
- สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
- เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 6 ก.พ. 2556

วันที่ 6 ก.พ. 2556

สอนกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

1. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2. กิจกรรมเคลื่อนไหว
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมกลางแจ้ง
5. กิจกรรมเสรี
6. กิจกรรมเกมการศึกษา

กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
1. ร่างกาย คือ การเคลื่อนไหว
2. อารมณ์ คือ การแสดงความรู้สึกที่แสดงออกมาในอารมณ์ที่ถูกต้องของเพื่อน
3. สังคม คือ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
4. สติปัญญา คือ การคิด การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุผล การจำ

ต่อด้วยการให้นักศึกษาร้องเพลง ยืนตรงพร้อมทำท่างประกอบ

เพลง ยืนตรง

          สองมือเราชูตรง   แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
  ต่อไปย้ายมาข้างหน้า   แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
 

เพลง จัดแถว

          ยืนให้ตัวตรง   ก้มหัวลงตบมือแปะ
แขยซ้ายอยู่ไหน       หันไปทางนั้นแหละ
แขนขวาอยู่ไหน        หันไปทางนั้นแหละ
 

เพื่อน ๆ ออกไปนำเสนอการสอน

กลุมที่ 1 สอนเรื่องของหน่วยบ้าน

กลุ่มที่ 2 สอนเรื่องของผลไม้

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 30 ม.ค. 2556

วันที่ 30 ม.ค. 2556

           หากมีการแสดงศักยภาพของห้องเรียนของเรา ว่ามีความสามารถอะไร
นักศึกษาช่วยกันยกตัวอย่าง
1. บทบาทสมมติ
2. ละครเวที
3. นิทรรศการสื่อ
4. เล่นดนตรี
5. ร้องเพลง
6. เล่านิทาน
7. เล่นเกม
8. รำ
9. งานศิลป
10. เต้น
          ซึ่งจากที่นักศึกษาได้บอกมานั้นหากต้องการแยกส่วนที่ใช้อุปกรณ์ กับไม่ใช้อปกรณ์สามารถแยกได้นี้
1.ร้องเพลง
2.รำ
3.เต้น
4.เล่นเกม
และที่ต้องใช้อุปกรณ์
1. บทบาทสมมติ
2. ละครเวที
3. นิทรรศการสื่อ
4. เล่นดนตรี
5. เล่านิทาน
6. งานศิลป
          การแยกชนิดอย่างนี้ก็ถือว่าได้ใช้มาตรฐานในการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน


บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 23 ม.ค. 2556

วันที่ 23 ม.ค. 2556

เมื่อได้ทำหน่วยการเรียนรู้แล้วต่อไปจะต้องเขียนแผนการเรียนรู้ในแต่ละวัน เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในเรื่องกิจกรรม และเมื่อลงมือทำแล้วเด็กได้ประสบการณ์ ได้เรียนรู้ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเมื่อได้แผนแล้วนำมาวิเคราะห์ การทำแผนใช้มาตรฐานเป็นตัวตั้ง
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 9 ม.ค. 2556

วันที่ 9ม.ค.2556

 
ทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์

มาตรฐานข้อที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
- การบริหารดำเนินการเรื่องจำนวน เช่น จำนวนนักเรียนที่มาเรียนในวันนี้ เงินที่แม่ให้เงินมากี่บาท อาคารในโรงเรียนมีกี่หลัง ราคาข้าวในโรงอาหาร สมาชิกในบ้านของหนูมีกี่คน หนูมาโรงเรียนกับใครบ้าง
- แทนค่าด้วยตัวเลขในการเรียน การนำตัวเลขมาวาง
- การทำแผนต้องสามารถยกได้เพื่อให้เด็กได้สัมผัสและนับจำนวนได้

มาตรฐานข้อที่ 2 การวัด หาค่าปริมาณ

มาตรฐานข้อที่ 3 ตำแหน่งทิศทาง ระหว่าง

มาตรฐานข้อที่ 4 พีชคณิต

มาตรฐานข้อที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐานข้อที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 งานกลุ่ม สร้างหน่วยการเรียนรู้มา 1 หน่วย โดยกำหนดหน่วยเอง แต่ควรเป็นเรื่องรอบตัวเด็ก เช่น หน่วยโรงเรียน กำหนด 5 วันในการเขียนแผน มีหลักการว่าอย่างไร สาระสำคัญ

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 ธ.ค. 2555


 

วันที่ 19 ธ.ค. 2555

-ส่งกระดาษวงกลม 3 ขนาด พร้อมติดกระดาษลัง สีเขียว สีเหลือง สีชมพู
-ปัญหาของการทำงาน
1. การสื่อสารที่ไม่ดี ใช่หรือไม่
2. การตัดสินใจ แก้ปัญหาด้วยตนเอง
- การจัดวงกลมมีรูปแบบหลากหลาย มีอิสระในการคิด ในการวางวงกลมในรูปแบบต่าง ๆ
       คนที่ 1 ตอบว่า แยกเป็นสี
       คนที่ 2 ตอบว่า วางตามเพื่อน
จึงให้นักศึกษาตระหนักว่า แบบอย่างเป็นสิ่งสำคัญ การกระทำในสถานะด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้
-  การวางกระดาษมีหลายรูปแบบ ได้แก่ เรียงตามสี ตามขนาด แยกสีและเรียงลำดับจากฐานใหญ่ไปสู่ฐานเล็ก
- มาตรฐาน นึกถึง ความเป็นสากล ตัวชี้วัด หลักเกณฑ์ คุณภาพ เป็นที่ยอมรับ ตัววัดผล สถานศึกษา
การสอบ สินค้าผลิตภัณฑ์


 
 
 
 
 


 
 
 
 

การเรียนรู้เรื่องมาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐานข้อที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐานข้อที่ 2 การวัด
มาตรฐานข้อที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐานข้อที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐานข้อที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐานข้อที่ 6 ทับษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์